Phone Number

099 519 5550

Open Daily

E-mail Contact

info@dreamaway-travel.com

Free Contact

  • Home
  • /
  • Medical Tourism
  • /
  • การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย EPS WITH RFA คืออะไร

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย EPS WITH RFA คืออะไร

hightlight

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย EPS WITH RFA คืออะไร EPS (Electrophysiology Study) คือ การตรวจสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และ การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency Ablation) หรือ RFA เป็นพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อใช้ตรวจ และรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยการใช้คลื่นวิทยุไฟฟ้า แทนการผ่าตัดเปิดช่องอก ทำให้ลดการเสียเลือดในการผ่าตัด ลดการติดเชื้อ และสามารถพักฟื้นได้ไว    

EPS WITH RFA คืออะไร  

  • การตรวจสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology  studies) หรือ EPS คือ การตรวจสัญญาณ และการนำไฟฟ้าในหัวใจ ว่ามีความผิดปกติตรงส่วนไหน การตรวจจะใช้หลอดฉายภาพเอกซเรย์ และสายรับสัญญาณหัวใจในการตรวจ 
  • การจี้ไฟฟ้าหัวใจ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency ablation) หรือ RFA คือ การจี้ไฟฟ้าหัวใจ โดยไม่ต้องเปิดช่องอก แต่จะใช้คลื่นความถี่วิทยุในการทำหัตถกรรรม  นอกจากนี้ RFA สามารถตัดเนื้อเยื่อมะเร็ง ตามอวัยวะต่างๆได้ 

EPS WITH RFA มีวิธีการอย่างไร    

  • EPS มีวิธีการ คือ การใช้แผ่นรับสัญญาณติดไว้ที่หน้าอกของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ และสอดสายเข้าไปในร่างกาย เพื่อที่หัวใจจะส่งสัญญาณกลับมา ระหว่างนั้นแพทย์จะกระตุ้นหัวใจ ด้วยกระแสไฟฟ้า และนำมาวินิจฉัย 
  • RFA มีวิธีการ คือ การสอดสายอิเล็กโทรด ที่ต้นขาผ่านหลอดเลือดแดง และผ่านหลอดเลือดดำที่ลำคอ หรือไหปลาร้า ปล่อยคลื่นความถี่วิทยุตัดเนื้อเยื่อที่เป็นสาเหตุของของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผ่านปลายสายอิเล็กโทรด

ขั้นตอนการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ

มีด้วยกัน 2 วิธี โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ให้กับผู้ป่วยแต่ละราย 

  • ใส่สายสวนเข้าไปบริเวณข้อมือ
  • ใส่สายสวนเข้าทางขาหนีบ

ขั้นตอนการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ

  1. บริเวณข้อมือและขาหนีบจะถูกทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำให้ปราศจากเชื้อ หลังจากนั้นจะถูกคลุมไว้ด้วยผ้าปราศจากเชื้อ
  2. แพทย์ฉีดยาชาเฉพาะที่ บริเวณที่จะสอดสายสวน หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน ให้รีบแจ้งแพทย์
  3. สายตรวจขนาดเล็กจะถูกสอดผ่านท่อนำบริเวณข้อมือ หรือขาหนีบ จนกระทั่งปลายสายตรวจเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจที่ต้องการตรวจ
  4. แพทย์ฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ พร้อมทั้งบันทึกภาพ ด้วยเครื่องถ่ายภาพเอ็กซเรย์จากหลาย ๆ มุม (ขณะฉีดสารทึบรังสีผู้ป่วยอาจรู้สึกร้อนวูบวาบประมาณ 10-15 นาที) 

กรณีสอดสายสวนหัวใจเข้าไปทางขาหนีบ

  • บริเวณขาหนีบจะถูกกดแผลห้ามเลือดประมาณ 15-30 นาที เมื่อเลือดหยุดจะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เหนียว เพื่อให้แผลไม่มีเลือดออกเพิ่ม ช่วงแรกแผลที่ขาหนีบจะถูกกดและห้ามเลือดด้วยหมอนทราย 
(หนักประมาณ ½ – 1 กก.)
  • ห้ามงอขาหรือลุกนั่งหรือยืนโดยที่แพทย์ไม่อนุญาต
  • หลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้

Medical Tourism Contact Form

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.

Phone Number

099 519 5550

Open Daily

E-mail Contact

info@dreamaway-travel.com

Free Contact